เทรนด์การจัดการวัสดุอัจฉริยะที่ยั่งยืน

  • การจัดการวัสดุอัจฉริยะที่ยั่งยืน ตอบโจทย์อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ยุคใหม่

  • มาแบบแพ็ค 3 ทั้งระบบอัตโนมัติ ความปลอดภัย และบูรณาการการใช้งานเทคโนโลยีล้ำสมัยต่าง ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์, เทคโนโลยีการเรียนรู้ของเครื่อง และคลาวด์

  • ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อการจัดการวัสดุอัจฉริยะที่ยั่งยืน ต้องพิจารณาต้นทุนตลอดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ตั้งแต่การผลิต การกระจายสินค้า และการบำรุงรักษา ไปจนถึงการรีไซเคิล

31 May, 2023
ตลาดการจัดการวัสดุมีการเติบโตขึ้น เนื่องจากการเติบโตของอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับแรงหนุนจากการระบาดของโควิด-19 เนื่องจากผู้คนนิยมซื้อของออนไลน์มากกว่าไปที่หน้าร้าน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ได้กระตุ้นความต้องการบริการจัดการวัสดุ และทำให้ผู้เล่นในตลาดนี้มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาอุปกรณ์และระบบอัตโนมัติที่ปลอดภัยและมีการทำงานสอดประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ระบบวิศวกรรมการผลิต คลังสินค้าอัจฉริยะ และยานพาหนะขนส่งที่ติดตามจากระยะไกล ขณะเดียวกันความต้องการโซลูชั่นการจัดการวัสดุที่ช่วยลดต้นทุน คุ้มค่า และมีความยั่งยืนก็เป็นอีกปัจจัยที่เร่งให้ตลาดนี้เติบโต

การจัดการวัสดุ หมายถึง การเคลื่อนย้ายของวัตถุดิบจากแหล่งดั้งเดิมไปยังจุดที่ใช้ในการผลิต การจัดการที่ตามมาในกระบวนการผลิต และการถ่ายโอนผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปจากโรงงาน ตลอดจนการแจกจ่ายไปยังผู้ใช้หรือร้านค้า ประเภทหลักของการจัดการวัสดุ ได้แก่ ยานพาหนะนำทางอัตโนมัติ ระบบจัดเก็บและดึงกลับอัตโนมัติ รถบรรทุกและลิฟต์ เครน ชั้นวางพาเลท ระบบลำเลียง รอก และอื่น ๆ โดยแนวโน้มที่สำคัญที่สุดของตลาดการจัดการวัสดุอัจฉริยะ/อัตโนมัติ คือ การบูรณาการเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยีการเรียนรู้ของเครื่อง เพื่อช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการขนถ่ายวัสดุ ลดต้นทุนแรงงาน และเพิ่มผลผลิต


นอกจากนี้ แนวโน้มสำคัญอีกประการหนึ่งคือการนำเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้ในระบบขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ เพื่อช่วยให้กระบวนการต่าง ๆ เป็นไปโดยอัตโนมัติ เช่น การจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล การติดตามแบบเรียลไทม์ รวมถึงการจัดการสินค้าคงคลัง ทำให้ผู้ประกอบการประหยัดต้นทุนที่สำคัญได้

สำหรับ "ความปลอดภัย" ถือเป็นหนึ่งในความท้าทายที่สำคัญในตลาดการจัดการวัสดุ โดยเฉพาะการขนถ่ายวัสดุในสถานที่ก่อสร้างและการขนส่งต่าง ๆ ซึ่งอุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุ รวมถึงการขาดประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ส่งผลเสียอย่างมาก ด้วยเหตุนี้จึงมีการนำระบบการจัดการวัสดุอัจฉริยะ/อัตโนมัติมาใช้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว


ด้านบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์จัดการวัสดุก็ปรับทิศทางธุรกิจสู่ความยั่งยืนมากขึ้น แนวทางยอดนิยมคือการทำให้ผลิตภัณฑ์สามารถกำหนดค่าใหม่ ใช้ซ้ำได้อย่างต่อเนื่อง มีความคงทน และยังคงความน่าเชื่อถือ โดยไม่สิ้นเปลืองทรัพยากรในการผลิต เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป จึงคาดว่าอุปกรณ์จัดการวัสดุที่ยั่งยืนมากขึ้นจะสามารถขายได้ง่ายขึ้นในอนาคต เนื่องจากมีความเป็นไปได้สูงที่จะกำหนดค่าใหม่ให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้ารายใหม่

ทั้งนี้ มูลค่าตลาดการจัดการวัสดุอัจฉริยะทั่วโลกคาดว่าจะสูงถึง 56.51 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในสิ้นปี 2570 มีอัตราเติบโตแบบทบต้นโดยเฉลี่ยต่อปี (CAGR) 5.7% ในช่วงคาดการณ์ระหว่างปี 2563 ถึง 2570 โดยในที่ผ่านมา เอเชียแปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุดในตลาดการขนย้ายวัสดุ รองลงมาคือยุโรปตะวันตก ดังนั้น หากผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทานโลจิสติกส์ต้องการประสบความสำเร็จในธุรกิจนี้ และเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน จะต้องเร่งนำการจัดการวัสดุอัจฉริยะที่ยั่งยืนมาใช้

โปรดติดตามความเคลื่อนไหวในแวดวงโลจิสติกส์เช่นเทรนด์นี้และอีกมาก ที่งาน “TILOG-LOGISTIX 2023” งานแสดงสินค้าและบริการด้านโลจิสติกส์ เทคโนโลยี และโซลูชั่นด้านอินทราโลจิสติกส์ที่ครบครันที่สุดในอาเซียน ภายใต้แนวคิด “Smart and Green Logistics for Sustainable Tomorrow” และขอเชิญผู้สนใจลงทะเบียนล่วงหน้าได้แล้ววันนี้ แล้วพบกันวันที่ 17-19 สิงหาคม 2566 นี้ ณ ไบเทค บางนา

ที่มา:





บทความที่เกี่ยวข้อง

หมายเหตุ

คณะผู้จัดงาน TILOG-LOGISTIX ขอสงวนสิทธิ์การเข้าชมงานสำหรับนักธุรกิจเท่านั้น กรุณาแต่งกายสุภาพ ไม่อนุญาตให้ผู้สวมกางเกงขาสั้น รองเท้าแตะ และบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปีเข้าชมงาน ขอสงวนสิทธิ์ในการไม่อนุญาตให้บุคคลที่ไม่เหมาะสมเข้าชมงานตามความเหมาะสมโดยไม่ต้องมีสาเหตุหรือคำอธิบาย