เกาะติดเทรนด์ ESG ในอุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าทางอากาศ
อุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าทางอากาศเดินหน้าพลิกภาพจากผู้ร้ายทำลายสิ่งแวดล้อมสู่การเป็นธุรกิจที่ยึดมั่นใน ESG
หลายบริษัทในอุตสาหกรรมนี้ว่าจ้างทีมงานดูแลด้าน ESG โดยเฉพาะ
เชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน เครื่องบินที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น การชดเชยคาร์บอน ใช้หน่วยโหลดอุปกรณ์ที่มีน้ำหนักเบา และการทำธุรกรรมแบบไร้กระดาษ 100% ล้วนเป็นเทรนด์ ESG ในอุตสาหกรรมนี้ที่น่าจับตามอง
31 Mar, 2023
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าทางอากาศถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเกี่ยวกับผลกระทบด้านลบต่อสภาพภูมิอากาศ โดยมักถูกมองว่าเป็นผู้ก่อมลพิษและมีส่วนทำให้เกิดภาวะโลกร้อน เนื่องจากปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมาก
ซึ่งมากกว่าการขนส่งทางเรือกว่า 10 เท่า ด้วยเหตุนี้บริษัทขนส่งสินค้าทางอากาศต่าง ๆ จึงพยายามขับเคลื่อนธุรกิจภายใต้แนวคิด ESG (Environment, Social, and Governance) เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม
ตามรายงานข้อมูลเชิงลึกของสมาคมการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (TIACA) ในปี 2022 ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศ 73% มีกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนอยู่แล้ว 52% ของผู้ตอบแบบสำรวจทั้งหมด กล่าวว่าบริษัทของตนมีทีมงานด้านความยั่งยืนหรือพนักงานอย่างน้อยหนึ่งคนทำหน้าที่ขับเคลื่อนและจัดการวาระด้านความยั่งยืนโดยเฉพาะ
ตามรายงานข้อมูลเชิงลึกของสมาคมการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (TIACA) ในปี 2022 ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศ 73% มีกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนอยู่แล้ว 52% ของผู้ตอบแบบสำรวจทั้งหมด กล่าวว่าบริษัทของตนมีทีมงานด้านความยั่งยืนหรือพนักงานอย่างน้อยหนึ่งคนทำหน้าที่ขับเคลื่อนและจัดการวาระด้านความยั่งยืนโดยเฉพาะ
ตัวอย่างเทรนด์ ESG ซึ่งเป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมขนส่งสินค้าทางอากาศ ได้แก่
1. สายการบินผู้ให้บริการคาร์โก้หันมาใช้เชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน (SAF) มากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้สามารถลด CO2 ได้มากถึง 80% ตลอดวงจรชีวิตของเชื้อเพลิงเมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงอากาศยานแบบดั้งเดิม ตัวอย่างเช่น Lufthansa Cargo และ Air France KLM Martinair Cargo ได้ดำเนินการเที่ยวบินขนส่งสินค้าที่เป็นกลางทางคาร์บอนแล้ว และใช้เชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน เนื่องจากเป็นเชื้อเพลิงที่สะอาดกว่า แต่ปัญหาของ SAF คือมีราคาแพงมากและไม่สามารถขยายตลาดได้โดยง่าย เนื่องจากอุปทานมีอยู่จำกัด แต่คาดว่าสถานการณ์จะเปลี่ยนไปในทศวรรษหน้า เมื่อ SAF หรือส่วนผสมของ SAF กับเชื้อเพลิงฟอสซิล อาจจะถูกนำมาใช้ในเที่ยวบินระยะไกล
2. ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศหลายราย เปลี่ยนมาใช้เครื่องบินที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยธุรกิจขนส่งทางอากาศชั้นนำของโลกบางแห่ง เช่น UPS และ FedEx กำลังลงทุนอย่างจริงจังในเครื่องบินที่มีประสิทธิภาพ โดยหวังว่าจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ ซึ่งรวมถึงการคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ น้ำหนัก ขนาด และการออกแบบเครื่องบิน ตลอดจนการประหยัดเชื้อเพลิง เพื่อให้แน่ใจว่าจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ขณะที่สายการบินต่าง ๆ เช่น คาเธ่ย์แปซิฟิค เพิ่งประกาศความมุ่งมั่นในการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 ซึ่งสอดรับกับเป้าหมายขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)
3. บริษัทขนส่งสินค้าทางอากาศเดินหน้าลงทุนในการชดเชยคาร์บอน ซึ่งเป็นกระบวนการดึงก๊าซเรือนกระจกที่สะสมในชั้นบรรยากาศ เพื่อหักลบกับมลพิษที่ปล่อยออกมา เช่น การลงทุนปลูกต้นไม้และปลูกป่าเพื่อชดเชยการปล่อยมลพิษ โดย Scanlog หรือ Scandinavian Logistics Partners AB จะชดเชยการปล่อย CO2 ที่เกิดจากการขนส่งทางอากาศซึ่งบริษัทจัดการให้กับลูกค้าเสมอ ถือเป็นบริษัทโลจิสติกส์แห่งแรกในนอร์เวย์ที่ชดเชยค่าขนส่งทางอากาศทั้งหมดที่บริษัทดำเนินการโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ กับลูกค้า หลังจากที่ให้บริการนี้เป็นครั้งแรกในสวีเดนตั้งแต่กลางปี 2562 เป็นต้นมา
4. พัฒนาหน่วยโหลดอุปกรณ์ (ULD) ให้มีน้ำหนักเบา คาดว่าจะมีการผลิต ULD ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับบรรทุกสินค้าขึ้นเครื่องบิน ให้มีน้ำหนักเบามากขึ้น ซึ่งเทรนด์นี้จะยังขยายตัวอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2569 โดยผลของการลดน้ำหนักของ ULD อาจส่งผลให้ใช้เชื้อเพลิงน้อยลง รวมถึงอาจเพิ่มจำนวนพัสดุที่สามารถจัดส่งได้ในคราวเดียว
5. สร้างกระบวนการขนส่งสินค้าทางอากาศแบบไร้กระดาษ 100% ด้วยการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลช่วยลดการปล่อยคาร์บอนและของเสีย สามารถกำจัดเอกสารที่เป็นกระดาษมากกว่า 7,800 ตัน ทั้งยังมีต้นทุนที่ต่ำกว่า โดยในภาพรวมของทั้งอุตสาหกรรมนี้สามารถประหยัดได้ถึง 4.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี รวมถึงทำให้การดำเนินการการขนส่งสินค้าสะดวก รวดเร็ว และราบรื่นขึ้น
1. สายการบินผู้ให้บริการคาร์โก้หันมาใช้เชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน (SAF) มากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้สามารถลด CO2 ได้มากถึง 80% ตลอดวงจรชีวิตของเชื้อเพลิงเมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงอากาศยานแบบดั้งเดิม ตัวอย่างเช่น Lufthansa Cargo และ Air France KLM Martinair Cargo ได้ดำเนินการเที่ยวบินขนส่งสินค้าที่เป็นกลางทางคาร์บอนแล้ว และใช้เชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน เนื่องจากเป็นเชื้อเพลิงที่สะอาดกว่า แต่ปัญหาของ SAF คือมีราคาแพงมากและไม่สามารถขยายตลาดได้โดยง่าย เนื่องจากอุปทานมีอยู่จำกัด แต่คาดว่าสถานการณ์จะเปลี่ยนไปในทศวรรษหน้า เมื่อ SAF หรือส่วนผสมของ SAF กับเชื้อเพลิงฟอสซิล อาจจะถูกนำมาใช้ในเที่ยวบินระยะไกล
2. ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางอากาศหลายราย เปลี่ยนมาใช้เครื่องบินที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยธุรกิจขนส่งทางอากาศชั้นนำของโลกบางแห่ง เช่น UPS และ FedEx กำลังลงทุนอย่างจริงจังในเครื่องบินที่มีประสิทธิภาพ โดยหวังว่าจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ ซึ่งรวมถึงการคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ น้ำหนัก ขนาด และการออกแบบเครื่องบิน ตลอดจนการประหยัดเชื้อเพลิง เพื่อให้แน่ใจว่าจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ขณะที่สายการบินต่าง ๆ เช่น คาเธ่ย์แปซิฟิค เพิ่งประกาศความมุ่งมั่นในการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 ซึ่งสอดรับกับเป้าหมายขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)
3. บริษัทขนส่งสินค้าทางอากาศเดินหน้าลงทุนในการชดเชยคาร์บอน ซึ่งเป็นกระบวนการดึงก๊าซเรือนกระจกที่สะสมในชั้นบรรยากาศ เพื่อหักลบกับมลพิษที่ปล่อยออกมา เช่น การลงทุนปลูกต้นไม้และปลูกป่าเพื่อชดเชยการปล่อยมลพิษ โดย Scanlog หรือ Scandinavian Logistics Partners AB จะชดเชยการปล่อย CO2 ที่เกิดจากการขนส่งทางอากาศซึ่งบริษัทจัดการให้กับลูกค้าเสมอ ถือเป็นบริษัทโลจิสติกส์แห่งแรกในนอร์เวย์ที่ชดเชยค่าขนส่งทางอากาศทั้งหมดที่บริษัทดำเนินการโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ กับลูกค้า หลังจากที่ให้บริการนี้เป็นครั้งแรกในสวีเดนตั้งแต่กลางปี 2562 เป็นต้นมา
4. พัฒนาหน่วยโหลดอุปกรณ์ (ULD) ให้มีน้ำหนักเบา คาดว่าจะมีการผลิต ULD ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับบรรทุกสินค้าขึ้นเครื่องบิน ให้มีน้ำหนักเบามากขึ้น ซึ่งเทรนด์นี้จะยังขยายตัวอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2569 โดยผลของการลดน้ำหนักของ ULD อาจส่งผลให้ใช้เชื้อเพลิงน้อยลง รวมถึงอาจเพิ่มจำนวนพัสดุที่สามารถจัดส่งได้ในคราวเดียว
5. สร้างกระบวนการขนส่งสินค้าทางอากาศแบบไร้กระดาษ 100% ด้วยการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลช่วยลดการปล่อยคาร์บอนและของเสีย สามารถกำจัดเอกสารที่เป็นกระดาษมากกว่า 7,800 ตัน ทั้งยังมีต้นทุนที่ต่ำกว่า โดยในภาพรวมของทั้งอุตสาหกรรมนี้สามารถประหยัดได้ถึง 4.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี รวมถึงทำให้การดำเนินการการขนส่งสินค้าสะดวก รวดเร็ว และราบรื่นขึ้น
จาก 5 เทรนด์ ESG ในอุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศที่กล่าวมา จะเป็นแนวทางสำคัญให้ผู้ประกอบการลงทุนแบบมีเป้าหมาย และปรับกลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
สำหรับใครที่สนใจความเคลื่อนไหวในแวดวงโลจิสติกส์ โปรดติดตาม TILOG-LOGISTIX Blogs เพื่ออัพเดทข่าวสารและเทรนด์ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ และเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนผ่านของธุรกิจสู่ยุคดิจิทัล ที่เทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์จะเพิ่มความอัจฉริยะมากขึ้น ที่งาน "TILOG-LOGISTIX 2023" งานแสดงสินค้าและบริการด้านโลจิสติกส์ เทคโนโลยี และโซลูชั่นด้านอินทราโลจิสติกส์ที่ครบครันที่สุด ภายใต้แนวคิด "Smart and Green Logistics for Sustainable Tomorrow” ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 17-19 สิงหาคม 2566 นี้ ณ ไบเทค บางนา
https://www.afklcargo.com/TH/en/common/e_services/fully_paperless_eaw.jsp
https://chartersync.com/emerging-trends/5-air-cargo-sustainability-trends-in-2022/
https://scanlog.com/always-carbon-offset-air-freight-now-in-norway/
สำหรับใครที่สนใจความเคลื่อนไหวในแวดวงโลจิสติกส์ โปรดติดตาม TILOG-LOGISTIX Blogs เพื่ออัพเดทข่าวสารและเทรนด์ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ และเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนผ่านของธุรกิจสู่ยุคดิจิทัล ที่เทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์จะเพิ่มความอัจฉริยะมากขึ้น ที่งาน "TILOG-LOGISTIX 2023" งานแสดงสินค้าและบริการด้านโลจิสติกส์ เทคโนโลยี และโซลูชั่นด้านอินทราโลจิสติกส์ที่ครบครันที่สุด ภายใต้แนวคิด "Smart and Green Logistics for Sustainable Tomorrow” ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 17-19 สิงหาคม 2566 นี้ ณ ไบเทค บางนา
ที่มา
https://kpmg.com/ie/en/home/insights/2023/01/aviation-leaders-report-2023/eye-on-esg.htmlhttps://www.afklcargo.com/TH/en/common/e_services/fully_paperless_eaw.jsp
https://chartersync.com/emerging-trends/5-air-cargo-sustainability-trends-in-2022/
https://scanlog.com/always-carbon-offset-air-freight-now-in-norway/