จับตานวัตกรรมวัสดุบรรจุภัณฑ์สำหรับการบริหารห่วงโซ่เย็นที่เป็นเลิศ

  • ห่วงโซ่เย็นเป็นการขนส่งที่ต้องแข่งกับเวลาและการรักษาอุณหภูมิ เพราะผลิตภัณฑ์จำนวนมากในห่วงโซ่ความเย็น เช่น วัคซีนและยาบางชนิด มีความไวสูงต่อความผันผวนของอุณหภูมิ แม้แต่การเบี่ยงเบนเล็กน้อยจากช่วงอุณหภูมิที่แนะนำ ก็อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพหรือความปลอดภัยได้

  • 3 เทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ตอบโจทย์การบริหารห่วงโซ่เย็นที่น่าจับตาและได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง คือ ฉนวนผ้าฝ้าย แผงฉนวนสุญญากาศ (VIP) และแอโรเจล

3 November, 2023
แม้กระบวนการขนส่งจะได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ด้วยแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์และวิทยาศาสตร์ข้อมูลขั้นสูง แต่ผู้ประกอบการจำนวนมากยังคงมองหาการพัฒนาเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ที่ทำให้โลจิสติกส์สมบูรณ์แบบมากขึ้น โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบมาสำหรับการใช้งานในห่วงโซ่ความเย็นซึ่งมีความละเอียดอ่อนสูงเป็นพิเศษ

ปัจจุบันพบว่าการพัฒนาดังกล่าวมีแนวโน้มในการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีขึ้น เช่น ฉนวนผ้าฝ้าย เนื่องจากความยั่งยืนในการขนส่งเป็นโจทย์ที่ต้องแก้อย่างชาญฉลาด วิศวกรจึงมองหาทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรหมุนเวียนอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาเป็นโซลูชันบรรจุภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความยั่งยืน หนึ่งในโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมล่าสุดที่เกิดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็คือ "ฉนวนจากฝ้ายรีไซเคิล" เนื่องจากฝ้ายเป็นหนึ่งในเส้นใยสิ่งทอที่ใช้มากที่สุดในโลก และฝ้ายที่ใช้แล้วจำนวนมากนำไปรีไซเคิลเป็นบรรจุภัณฑ์ได้ ด้วยเทคนิคการประมวลผลบางอย่างช่วยเปลี่ยนฝ้ายเป็นวัสดุฉนวนอย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งมีคุณสมบัติที่ยอดเยี่ยมทั้งการกันกระแทกและให้การป้องกันความร้อนกับสินค้าที่ละเอียดอ่อนอย่างสินค้าในห่วงโซ่ความเย็น ที่สำคัญยังย่อยสลายได้ตามธรรมชาติด้วย จึงไร้ข้อกังขาเรื่องความยั่งยืน


นอกจากนี้ ด้วยความก้าวหน้าล่าสุดในเทคโนโลยีฉนวนได้นำเสนอทางเลือกใหม่ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะวัสดุฉนวนขั้นสูงที่กำลังปฏิวัติวงการบรรจุภัณฑ์ในห่วงโซ่เย็นอย่าง แผงฉนวนสุญญากาศ (Vacuum Insulation Panel; VIP) ซึ่งกลายเป็นผู้เปลี่ยนเกม เพราะสามารถบรรลุประสิทธิภาพการระบายความร้อนที่เหนือกว่า แผงเหล่านี้ใช้แกนปิดผนึกสุญญากาศซึ่งช่วยลดการถ่ายเทความร้อน ด้วยการสร้างสุญญากาศภายในแผง ทำให้ค่าการนำความร้อนลดลงอย่างมาก ส่งผลให้มีความสามารถในการเป็นฉนวนที่ยอดเยี่ยม VIP จึงมีประสิทธิภาพเหนือกว่าวัสดุแบบดั้งเดิม

สำหรับแหล่งกำเนิดความเย็นเดียวกัน VIP จะให้พลังงานอิสระ 7 ถึง 10 วัน หรือ 2 ถึง 3 เท่าของวัสดุฉนวนแบบคลาสสิก เพราะฉะนั้น VIP จึงตอบสนองความต้องการเฉพาะของการขนส่งระยะไกล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพอากาศร้อนจัด ช่วยให้ชั้นฉนวนบางลง ลดขนาดบรรจุภัณฑ์โดยรวม และแม้แต่ลดน้ำหนักบรรจุภัณฑ์ด้วยซ้ำไป VIP มีประโยชน์อย่างยิ่งในสถานการณ์ที่มีพื้นที่จำกัดหรือจำเป็นต้องลดน้ำหนักในการบรรทุกสินค้าอย่างจริงจัง อีกตัวอย่างที่น่าสนใจ คือ แอโรเจล (Aerogel) วัสดุเนื้อพรุนที่มีน้ำหนักเบามากจัดว่าเป็นของแข็งที่มีความหนาแน่นน้อยที่สุดในโลก ด้วยการผสมผสานที่น่าทึ่งระหว่างความหนาแน่นต่ำและคุณสมบัติการเป็นฉนวนสูง แอโรเจลจึงกลายเป็นตัวเลือกที่น่าตื่นเต้นในโลกของวัสดุฉนวน จากโครงสร้างที่มีรูพรุนสูงซึ่งประกอบด้วยอนุภาคนาโนที่เชื่อมต่อถึงกัน แอโรเจลจึงมีการนำความร้อนต่ำมาก ทำให้เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการฉนวนประสิทธิภาพสูง ด้วยการให้การป้องกันที่ดีเยี่ยมต่อการถ่ายเทความร้อน แอโรเจลจึงลดความผันผวนของอุณหภูมิภายในบรรจุภัณฑ์ให้เหลือน้อยที่สุด ช่วยให้มั่นใจว่ามีการควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดระหว่างการขนส่งห่วงโซ่เย็น โดยตัวอย่างนวัตกรรมนี้คือ Cryar Aerogel Board ผลิตภัณฑ์แอโรเจลซึ่งมีต้นทุนต่ำ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และปรับขนาดได้ ตอบโจทย์การขนส่งยาและวัคซีนได้เป็นอย่างดี รังสรรค์โดย KrossLinker สตาร์ทอัพสิงคโปร์ซึ่งเชี่ยวชาญด้านวัสดุขั้นสูงที่เน้นการประหยัดพลังงาน


ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเหล่านี้ที่มีบทบาทสำคัญในการขนส่งแบบห่วงโซ่เย็น จึงทำให้การขนส่งที่เต็มไปด้วยข้อจำกัดมากมายนี้ คลี่คลายไปด้วยดี ซึ่งนวัตกรรมเหล่านี้ผู้ประกอบการขนส่งห่วงโซ่เย็นในไทยควรนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย เพื่อให้ทันกับเทรนด์การเติบโตของธุรกิจอาหาร รวมถึงยาและเวชภัณฑ์ต่าง ๆ เพราะจะช่วยปรับปรุงกระบวนการจัดเก็บและขนส่งให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการส่งมอบสินค้าที่มีคุณภาพให้ถึงมือผู้บริโภค เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า ลดความสูญเสีย และเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ ตามรายงานของ TechSci Research เรื่อง "ตลาดขนส่งห่วงโซ่เย็นในไทยแบ่งตามภูมิภาค การแข่งขัน การคาดการณ์และโอกาส ปี 2571" ระบุว่าจะมีความแข็งแกร่งขึ้น ตลาดจะถูกขับเคลื่อนด้วยปัจจัยหลายประการ เช่น การส่งออกผลไม้ไปจีนที่เพิ่มขึ้น การฟื้นตัวของการส่งออกอาหารทะเลที่ดีขึ้นเป็นลำดับหลังจากสหภาพยุโรปได้ประกาศปลดสถานะใบเหลืองของภาคประมงไทยเมื่อปี 2562 และจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของร้านสะดวกซื้อและร้านอาหารเชนต่าง ๆ เป็นต้น

สำหรับผู้ที่สนใจข่าวคราวความเคลื่อนไหวและนวัตกรรมด้านโลจิสติกส์ โปรดเกาะติดบล็อก TILOG – LOGISTIX อย่างต่อเนื่อง และในโอกาสนี้ ทีมงาน TILOG – LOGISTIX โดยอาร์เอ็กซ์ เทรดเด็กซ์ ขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมงาน TILOG – LOGISTIX 2023 ซึ่งเป็นการยกระดับโลจิสติกส์อัจฉริยะสู่ความยั่งยืน แล้วเตรียมพบกันใหม่ที่งาน TILOG – LOGISTIX 2024 ระหว่างวันที่ 15-17 สิงหาคม 2567 ณ ไบเทค บางนา! เพื่อติดปีกให้ธุรกิจโลจิสติกส์ยุคใหม่เติบโตต่อไปในอนาคตอย่างแข็งแกร่ง

ที่มา:





หมายเหตุ

คณะผู้จัดงาน TILOG-LOGISTIX ขอสงวนสิทธิ์การเข้าชมงานสำหรับนักธุรกิจเท่านั้น กรุณาแต่งกายสุภาพ ไม่อนุญาตให้ผู้สวมกางเกงขาสั้น รองเท้าแตะ และบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปีเข้าชมงาน ขอสงวนสิทธิ์ในการไม่อนุญาตให้บุคคลที่ไม่เหมาะสมเข้าชมงานตามความเหมาะสมโดยไม่ต้องมีสาเหตุหรือคำอธิบาย