ทำไม "ระบบบรรจุภัณฑ์ที่ส่งคืนได้" จึงเป็นหัวใจสำคัญของโลจิสติกส์รักษ์โลก
หมดยุคของการทำธุรกิจที่ปล่อยให้เกิดของเสีย ถึงเวลาของ Circularity อย่างแท้จริง หากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ที่ช่วงชิงโอกาสจากเทรนด์นี้ได้ก็จะเติบโตอย่างยั่งยืน
ระบบบรรจุภัณฑ์ที่ส่งคืนได้ คุ้มค่า ลดต้นทุนขนส่ง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ถือเป็นส่วนหนึ่งของบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน
สามารถส่งเสริมการกระจาย การจัดการ และการจัดเก็บผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
มูลค่าตลาดบรรจุภัณฑ์ที่ส่งคืนทั่วโลกมีมูลค่า 103.7 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2564 และคาดว่าจะขยายตัวในอัตราการเติบโตต่อปี (CAGR) 5.9% ในช่วงปี 2565 ถึง 2573
ตัวอย่างระบบบรรจุภัณฑ์ที่ส่งคืนได้หรือใช้ซ้ำได้ เช่น ระบบของชั้นวางพาเลท หรือคอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งจะเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์ได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพตลอดห่วงโซ่อุปทาน ระบบบรรจุภัณฑ์เหล่านี้สร้างขึ้นโดยใช้วัสดุที่ทนทาน เช่น ไม้ พลาสติก และโลหะ ซึ่งแตกต่างจากบรรจุภัณฑ์แบบทางเดียวที่ส่งถึงมือลูกค้าแล้วจบสิ้นกัน ตรงที่มันถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานได้หลายครั้งและมีคุณประโยชน์หลากหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
การนำโซลูชันบรรจุภัณฑ์ที่แข็งแรงกลับมาใช้ซ้ำ ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ จะได้รับต้นทุนต่อเที่ยวที่ต่ำลงและผลตอบแทนจากการลงทุนที่รวดเร็ว และทำให้การกระจาย การจัดการ รวมถึงการจัดเก็บสินค้าหรือผลิตภัณฑ์มีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ซ้ำได้จะถูกส่งกลับและหมุนเวียนซ้ำหลายครั้ง สามารถช่วยแบ่งเบาภาระด้านสิ่งแวดล้อม ลดการพึ่งพาทรัพยากรโดยการลดการผลิตวัสดุ ลดขยะพลาสติก และลดมลพิษที่เกิดจากการกำจัดของเสียหลังการใช้งานได้เป็นอย่างดี
ขณะเดียวกัน เมื่อเทียบกับกล่องกระดาษแข็งแล้ว บรรจุภัณฑ์ที่ส่งคืนหรือใช้ซ้ำได้ที่ทำขึ้นจาก ไม้ พลาสติก หรือโลหะ นั้นแข็งแรงกว่า มีความทนทานต่อความชื้นและการปนเปื้อนต่าง ๆ สูงกว่ามาก จึงช่วยป้องกันสินค้าระหว่างการขนส่งไม่ให้เสียหาย รวมถึงคงมาตรฐานความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ที่จัดเก็บในคลังสินค้าให้อยู่ในระดับสูงสุด และจากการที่ได้รับการออกแบบมาให้ทนทานต่อการจัดการอย่างสมบุกสมบันตลอดห่วงโซ่อุปทาน จึงเหมาะสำหรับการขนส่งหลายครั้ง ต่อให้การลงทุนเริ่มต้นจะสูงมากเมื่อเทียบกับบรรจุภัณฑ์แบบใช้แล้วทิ้ง แต่การขนส่งที่เพิ่มจำนวนเที่ยวมากขึ้นจะทำให้ต้นทุนต่อเที่ยวลดลงตามที่กล่าวมาแล้วก่อนหน้า ก็ทำให้เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาว
รายงานจาก Grand View Research ระบุว่าตลาดบรรจุภัณฑ์ที่ส่งคืนได้ทั่วโลกมีมูลค่า 103.7 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2564 และคาดว่าจะขยายตัวในอัตราการเติบโตต่อปี (CAGR) 5.9% ในช่วงปี 2565 ถึง 2573 โดยคาดว่าความต้องการผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนและทนทานจากอุตสาหกรรมปลายทางต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้น จะเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันตลาดนี้ให้เติบโต
นอกจากนี้ การที่บรรจุภัณฑ์ที่ส่งคืนได้ช่วยกำจัดของเสียจากบรรจุภัณฑ์ที่จะฝังกลบ จึงมีความยั่งยืนสูง ดังนั้นการเพิ่มการใช้โซลูชันบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ รวมถึงแรงกดดันด้านกฎระเบียบที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก ก็คาดว่าจะเป็นอีกสองปัจจัยสำคัญที่ช่วยกระตุ้นการเติบโตของตลาดนี้ได้เช่นกัน
สำหรับใครที่สนใจความเคลื่อนไหวในแวดวงโลจิสติกส์ โปรดติดตาม TILOG-LOGISTIX Blog เพื่ออัพเดทข่าวสารและเทรนด์ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ และเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนผ่านของธุรกิจสู่ยุคดิจิทัล ที่เทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์จะเพิ่มความอัจฉริยะมากขึ้น ที่งาน “TILOG-LOGISTIX 2023” งานแสดงสินค้าและบริการด้านโลจิสติกส์ เทคโนโลยี และโซลูชั่นด้านอินทราโลจิสติกส์ที่ครบครันที่สุด ภายใต้แนวคิด “Smart and Green Logistics for Sustainable Tomorrow” โดยจะจัดขึ้นในวันที่ 17-19 สิงหาคม 2566 นี้ ณ ไบเทค บางนา