ถ้าไม่อยากตกขบวน BRI ผู้ประกอบการไทยต้องเรียนรู้และเร่งปรับตัวแบบรอบด้าน
โครงการ Belt and Road Initiative (BRI) หรือ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เป็นโครงการใหญ่ที่จีนริเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2556 เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจทั่วโลกผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การเชื่อมโยงการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว
เปิดโอกาสให้กับผู้ประกอบการโลจิสติกส์ในไทยได้มากมาย เพราะช่วยสร้างเครือข่ายการขนส่งที่เชื่อมโยงระหว่างจีนกับหลายประเทศในเอเชีย ยุโรป และแอฟริกา ทำให้ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทยมีโอกาสเข้าถึงตลาดใหม่ ๆ และขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศได้ง่ายขึ้น
BRI สนับสนุนการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ทำให้สามารถนำเสนอบริการที่หลากหลายและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
การเชื่อมโยงระหว่างประเทศที่เข้าร่วม BRI ช่วยเพิ่มความสามารถในการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถจัดส่งสินค้าได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จาก BRI อย่างเต็มที่ โลจิสติกส์ไทยต้องเตรียมความพร้อมในทุกมิติ ทั้งการศึกษาโครงการนี้อย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ เช่น AI และ Big Data, Blockchain, Chatbot, AR ฯลฯ
ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน ด้วยการใช้ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) เพื่อบริหารจัดการกระบวนการโลจิสติกส์ให้เป็นระบบ ขณะเดียวกันเทคโนโลยีที่ต้องใช้เพื่อให้ประสบความสำเร็จกับการทำธุรกิจที่เชื่อมโยงผู้คนหลายพันล้านคนนี้ ได้แก่
Artificial Intelligence (AI) และ Big Data เพื่อช่วยในการวางแผน จัดการคลังสินค้า และกระบวนการอื่นในห่วงโซ่อุปทาน โดยลดระยะเวลาการทำงานและส่งผลให้ลูกค้ามีความพึงพอใจในการรับบริการมากขึ้น โดยเฉพาะการวิเคราะห์ข้อมูลและคาดการณ์ ด้วยการใช้ข้อมูลประวัติการสั่งซื้อและแนวโน้มตลาดเพื่อทำนายความต้องการสินค้า ช่วยปรับปรุงการบริหารจัดการสต็อก ลดการขาดแคลนและการมีสต็อกเกิน รวมถึงใช้วิเคราะห์ข้อมูลการจราจร สภาพอากาศ และสถานการณ์อื่น ๆ เพื่อหาทางเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดซึ่งจะช่วยลดเวลาการขนส่งและประหยัดเชื้อเพลิง นอกจากนี้ยังช่วยในการคาดการณ์สินค้าหรือบริการที่จะทำกำไรและกลุ่มลูกค้าในอนาคต ตลอดจนการระบุโอกาสและความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นด้วย
Blockchain เพื่อใช้ในการติดตามสินค้าและลดปัญหาการปลอมแปลงเอกสาร สร้างความโปร่งและตรวจสอบย้อนกลับได้ทั้งหมด ติดตามสถานะของสินค้าได้อย่างแม่นยำ โดยไม่จำเป็นต้องใช้กระดาษหรือเอกสารอื่น ๆ โดยช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดการเอกสารของบริษัทโลจิสติกส์ได้ถึง 25% (รายงานจาก McKinsey & Company,2023) และ Blockchain สามารถเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีอื่น ๆ เช่น Internet of Things (IoT) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและความแม่นยำของข้อมูล โดยเซ็นเซอร์ IoT ให้ข้อมูลแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับระดับสินค้าคงคลัง สถานะการจัดส่ง
Conversational Systems (Chatbot) สามารถให้การสนับสนุนลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน โดยตอบคำถามทั่วไปเกี่ยวกับสถานะคำสั่งซื้อ ข้อมูลการจัดส่ง และคำถามอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงช่วยให้ลูกค้าได้รับข้อมูลที่ต้องการโดยไม่ต้องโทรหรือส่งอีเมลถึงฝ่ายบริการลูกค้า
Augmented Reality (AR) สามารถซ้อนทับข้อมูลดิจิทัล เช่น ระดับสินค้าคงคลัง สถานที่จัดเก็บ และคำแนะนำในการหยิบสินค้าลงบนสภาพแวดล้อมคลังสินค้าในโลกแห่งความเป็นจริง ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถค้นหาสินค้าได้อย่างรวดเร็ว ลดข้อผิดพลาดในการหยิบและบรรจุ และปรับปรุงประสิทธิภาพของคลังสินค้าโดยรวม
นอกจากการนำเทคโนโลยีมาใช้แล้ว ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทยควรทำความเข้าใจโครงสร้างพื้นฐานและการเชื่อมโยงทางการค้า ด้วยการศึกษาเส้นทางหลักของ BRI และประเมินโครงสร้างพื้นฐานในแต่ละเส้นทาง เพื่อระบุจุดที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งสินค้า ตลอดจนเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับกฎระเบียบและมาตรฐานระหว่างประเทศ รวมถึงต้องพัฒนามาตรฐานการบริการ ด้วยการให้บริการที่มีมาตรฐานสูงเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพ ขณะเดียวกันต้องมีการวางแผนและการจัดการความเสี่ยงที่ครอบคลุมทุกด้าน เช่น ความเสี่ยงทางการเงิน ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของตลาด และความเสี่ยงทางการเมือง และต้องดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ด้วยการใช้แนวทางการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการสนับสนุนโครงการ CSR จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและยั่งยืน
โปรดติดตามข้อมูลข่าวสารจากบล็อกของเราอย่างต่อเนื่องเพื่อเกาะติดเทรนด์เทคโนโลยีและนวัตกรรมในแวดวงโลจิสติกส์ รวมถึงเตรียมพบกับงาน TILOG-LOGISTIX 2025 ในวันที่ 20-22 สิงหาคม 2568 ณ ไบเทค บางนา